ประเพณี
ความหมายของประเพณี
ประเพณีล้วนได้รับอิทธิพลมาจากสิ่งแวดล้อมภายนอกที่เข้าสู่สังคม รับเอาแบบปฏิบัติที่หลากหลายเข้ามาผสมผสานในการดำเนินชีวิต ประเพณีจึงเรียกได้ว่าเป็น วิถีแห่งการดำเนินชีวิตของสังคม โดยเฉพาะศาสนาซึ่งมีอิทธิพลต่อประเพณีไทยมากที่สุด วัดวาอารามต่างๆ ในประเทศไทยสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของพุทธศาสนาที่มีต่อสังคมไทย และชี้ให้เห็นว่าชาวไทยให้ความสำคัญในการบำรุงพุทธศาสนาด้วยศิลปกรรมที่งดงามเพื่อใช้ในพิธีกรรมทางศาสนาตั้งแต่โบราณกาล เป็นต้น
ประเพณีนบพระเล่นเพลง จังหวัดกำแพงเพชร
ประเพณีไทย นั้นเป็นประเพณีที่ได้อิทธิพลอย่างสูงจากศาสนาพุทธ แต่อิทธิพลจากศาสนาอื่นเช่น ศาสนาพราหมณ์และ การอพยพของชาวต่างชาติเช่นคนจีนก็มีอิทธิพลของประเพณีไทย
ประเพณีไทยนั้นสามารถแบ่งออกเป็นสามส่วนใหญ่คือ ภาษา , ศิลปะ และประเพณี
ภาษาไทย เป็นภาษาประจำชาติของคนไทย ตัวอักษรของภาษาไทยถูกสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนรามคำแหงในค.ศ. 1283 ตัวอักษรของภาษาไทยได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลี และสันสกฤตจากสื่อของขอมโบราณ ปัจจุบันภาษาไทยประกอบด้วยตัวอักษร สี่สิบสี่ตัว ภาษาไทยมีห้าโทนคือ : สามัญ , เอก, โท, ตรี, จัตวา ซึ่งแตกต่างจากภาษาอื่นเช่นภาษาอังกฤษ เช่นคำว่า บ่า กับบ้านั้นมีความที่แตกต่างกัน ภาษาไทยในปัจจุบันได้รับอิทธพลมาจากภาษาต่างๆ ทั่วโลกเช่น บาลี, ขอม, มาเล, ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีน
ประเพณีผีตาโขน จังหวัดเลย
ตั้งแต่สมัยโบราณคนไทยให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนา จะเห็นได้ว่าคนไทยจากสมัยโบราณจนถึงปัจจุบันนิยม สร้างสิ่งก่อสร้าง ในทางพระพุทธศาสนาเช่น เจดีย์,วัด,หรือสถูป โดยสิ่งปลูกสร้าง ทางพระพุทธศาสนาเหล่านี้นิยม ใช้ในพิธีกรรมที่สำคัญต่างๆในชุมชน เช่นวัดมักนิยมเป็นที่จัดงานประจำปี นอกจากนี้แล้ววัดจึงเป็นจุดศูนย์กลางของหมู่บ้าน เป็นสถานที่เรียนหนังสือกับเยาวชนและประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
ในภาษาบาลีนั้น คำว่าเจดีย์หมายถึง จิตใจหรืออนุสรณ์เตือนใจ คำว่าสถูปนั้นหมายถึงเดือน สิ่งปลูกสร้างเหล่านี้ถูกสร้างมาเพื่อตอน ให้รำลึกถึงความเชื่อใน ศาสนาพุทธที่ว่าสังขารของคนนั้นไม่เที่ยงแท้ เมื่อมีการเกิดก็ย่อมต้องมีวันแตกดับได้เป็นไปตามปัจจัยของโลก คนโบราณจึงมีประเพณีนิยมสร้างเจดีย์ใน วัดเพื่อเตือนใจคนในสังคมไม่ให้ทำความชั่ว และหมั่นสร้างความดีเพื่อเป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมในภพนี้และภพหน้า
เจดีย์ยังนิยมให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุอัฐิของพระพุทธรูป หากบรรจุพระบรมสารีริกธาตของ พระพุทธเจ้าหรือของพระมหากษัตริย์นั้นก็จะเรียกว่าธาตุเจดีย์
ประเพณีไทย อันดีงามที่สืบทอดต่อกันมานั้น ล้วนแตกต่างกันไปตามความเชื่อ ความผูกพันของผู้คนต่อพุทธศาสนา และการดำรงชีวิตที่สอดประสานกับฤดูกาลและธรรมชาติอย่างชาญฉลาดของชาวบ้านในแต่ละท้องถิ่น ทั่วแผ่นดินไทย เช่น
ภาคเหนือ ประเพณีบวชลูกแก้วของคนไตหรือชาวไทยใหญ่ที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน
ภาคอีสาน ประเพณีบุญบั้งไฟของชาวจังหวัดยโสธร
ภาคกลาง ประเพณีทำขวัญข้าวจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นต้น
ความสำคัญลอยกระทง
ประเพณี และอารยธรรมไทยยังนำมาซึ่งการท่องเทียว เป็นที่รู้จักและประทับใจแก่ชาติอื่น นับเป็นมรดกอันลำค่าที่เราคนไทยควรอนุรักษ์และสืบสานให้ยิ่งใหญ่ตลอดไปประเพณีลอยกระทง ตรงกับวันเพ็ญ (วันขึ้น 15 ค่ำ) เดือน 12 (ตามปฏิทินทางจันทรคติ) ประมาณเดือนพฤศจิกายน ประเพณีนี้กำหนดขึ้นเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์และขอขมาต่อแม่พระคงคา บางหลักฐานเชื่อว่าเป็นการบูชารอยพระพุทธบาทที่ริมฝั่งแม่น้ำนัมทามหานที และบางหลักฐานก็ว่าเป็นการบูชาพระอุปคุตอรหันต์หรือพระมหาสาวก สำหรับประเทศไทยประเพณีลอยกระทงได้กำหนดจัดในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณที่ติดกับแม่น้ำ ลำคลอง หรือ แหล่งน้ำต่าง ๆ ซึ่งแต่ละพื้นที่ก็จะมีเอกลักษณ์ที่น่าสนใจแตกต่างกันไป
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น